เมนู

ปริตตขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโต-
ปริญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ
แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[1576] 7. อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตารัมมณ-
ธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พระอริยะทั้งหลายพิจารณาเจโตปริยญาณที่เป็นอัปปมาณารัมมณ-
ธรรม พิจารณาปุพเพนิวาสานุสสติญาณ พิจารณาอนาคตังสญาณ รู้จิตของ
บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมหัคคตจิตที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม ด้วยเจโต-
ปริยญาณ
มหัคคตขันธ์ที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ
แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย.

3. อธิปติปัจจัย


[1577] 1. ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณ-
ธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว กระทำกุศล
กรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.
กระทำกุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อนให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.

บุคคลกระทำปริตตขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรม ให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำขันธ์
นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้ง
หลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
[1578] 2. ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตา-
รัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลกระทำทิพยจักษุให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.
กระทำทิพโสตธาตุ ฯลฯ อิทธิวิธญาณที่เป็นปริตตารัมมณธรรม ฯลฯ เจโต-
ปริยญาณ ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ ยถากัมมูปคญาณ ฯลฯ กระทำ
อนาคตังสญาณให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.
บุคคลย่อมยินดีย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำมหัคคตขันธ์ทั้งหลาย
ที่เป็นปริตตารัมมณธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักเเน่น ครั้นกระทำขันธ์นั้น
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม ฯลฯ
ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
[1579] 3. ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตา-
รัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ

ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลกระทำวิญญาณัญจายตนะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ อิทธิวิธญาณที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม ฯลฯ
เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำมหัคคตขันธ์ทั้งหลาย
ที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำ
ขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม
ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
[1580] 4. มหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตา-
รัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลกระทำปฐมฌานปัจจเวกขณะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว
พิจารณาฯลฯ กระทำอนาคตังสญาณปัจจเวกขณะ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ฯลฯ

บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะการทำปริตตขันธ์ทั้งหลาย
ที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำขันธ์นั้น
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะที่เป็นปริตตารัมมณธรรม ฯลฯ ทิฏฐิ
ย่อมเกิดขึ้น.
[1581] 5. อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณา-
รัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก
แน่นแล้ว พิจารณา กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
ทั้งหลาย.
[1582] 6. อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตา-
รัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
พระเสกขบุคคลทั้งหลาย กระทำโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
แล้วพิจารณา, กระทำโวทานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา,
กระทำมรรคปัจจเวกขณะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา, กระ-
ทำผลปัจจเวกขณะ ฯลฯ กระทำนิพพานปัจจเวกขณะ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก
แน่นแล้ว พิจารณา.

[1583] 7. อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตา-
รัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
พระเสกขบุคคลทั้งหลายกระทำเจโตปริยญาณที่เป็นอัปปมาณารัมมณ-
ธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ กระทำปุพเพนิวาสนุสสติญาณ ฯลฯ
กระทำอนาคตังสญาณให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.

4. อนันตรปัจจัย


[1584] 1. ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตรัมมณ-
ธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรมที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย
ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
[1585] 2. ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตารัมมณ-
ธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ จุติจิตที่เป็นปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่เป็น
มหัคคตารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
ภวังค์ที่เป็นปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะที่เป็นมหัคคตา-
รัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็น
มหัคคตารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.